ผงะ!เจอปะการังฟอกขาวที่อุทยานเเห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์-พังงา

ผงะ!เจอปะการังฟอกขาวที่อุทยานเเห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์-พังงา

วันที่ 4 พ.ค.67 เพจอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ #หมู่เกาะสุรินทร์ โพสต์ภาพปะการังฟอกขาว (coral bleaching) เป็นปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) จนนำไปสู่การทำให้ปะการังตายไปในที่สุด ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย โดยปัจจัยที่สำคัญคือการที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป
เเละเนื่องด้วยปัจจุบันน้ำทะเลมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ที่เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดปะการังฟอกขาว อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จึงได้หมันทำการตรวจวัดอุณหภูมิน้ำทะเลเเละสำรวจการเกิดปะการังฟอกขาวเป็นประจำ ซึ่งผลการสำรวจการเกิดปะการังฟอกขาวในช่วงวันที่ 20 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2567 มีผลการสำรวจดังต่อไปนี้  
อ่าวเต่า พื้นที่การสำรวจประมาณ 2000 ตารางเมตร พบปะการังฟอกขาวประมาณ 5 % (โดยส่วนใหญ่ปะการังที่มีการฟอกขาวคือชนิดปะการังผิวยู่ยี่) เเละพบปะการังซีดประมาณ 30 % 

อ่าวช่องขาด พื้นที่การสำรวจประมาณ 3000 ตารางเมตร พบปะการังฟอกขาวประมาณ 5% (โดยส่วนใหญ่ปะการังที่มีการฟอกขาวคือชนิดปะการังผิวยู่ยี่ เเละปะการังโขด) เเละพบปะการังซีดประมาณ 25%
อ่าวสุเทพ พื้นที่การสำรวจประมาณ 2000 ตารางเมตร พบปะการังฟอกขาวประมาณ 2% (โดยส่วนใหญ่ปะการังที่มีการฟอกขาวคือชนิดปะการังดอกกะหล่ำ) เเละพบปะการังซีด 30%
ประมาณ
อ่าวผักกาด พื้นที่การสำรวจประมาณ 1000 ตารางเมตร พบปะการังฟอกขาวประมาณ 5 % (โดยส่วนใหญ่ปะการังที่มีการฟอกขาวคือชนิดปะการังผิวยู่ยี่ รองลงมาคือปะการังดอกกะหล่ำ) เเละพบปะการังซีดประมาณ 20%

อ่าวไทรเอน พื้นที่การสำรวจประมาณ 2000 ตารางเมตร พบปะการังฟอกขาวประมาณ 2 % (โดยส่วนใหญ่ปะการังที่มีการฟอกขาวคือชนิดปะการังผิวยู่ยี่) เเละพบปะการังซีดประมาณ 20%

กองหินริเชริล พื้นที่การสำรวจประมาณ 1000 ตารางเมตร พบปะการังฟอกขาวประมาณ 2 % (โดยส่วนใหญ่ปะการังที่มีการฟอกขาวคือชนิดปะการังโขดเเละปะการังดอกกะหล่ำ) เเละพบปะการังซีดประมาณ 20%

ความคิดเห็น